Search

ศิลปินต่างชาติช่วยเหลือช้างในภูเก็ต หลังศูนย์อนุรักษ์ช้างทรีท็อปส์ได้รับผลกระทบโควิด-19 - Khao Phuket


“เงินที่ได้มาจากการซื้อขายเสื้อยืด (ราคา 20 ปอนด์ หรือประมาณ 813 บาท), เสื้อคลุมมีหมวกหรือฮู้ดดี้ (34 ปอนด์หรือประมาณ 1,380 บาท) และเสื้อกันหนาว (26 ปอนด์ หรือประมาณ 1,000 บาท) โกลดี้จะนำไปซื้ออาหารสำหรับช้างทั้ง 7 เชือกกินในแต่ละวันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (หรืออาจจะยาวนานกว่านั้น)

“เสื้อผ้าทั้งหมดได้มาจากแหล่งที่มาที่พร้อมด้วยจริยธรรม และพิมพ์ด้วยหมึกที่ไม่มีส่วนผสมจากสัตว์”

เสื้อผ้าที่ระดมทุนจะขายผ่านร้านเสื้อผ้าไวลด์ แอนด์ เกรย์ (Wild & Grey) ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่เปิดตัวโดย ลูอีส โรเจอร์สัน ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ทรีท็อปส์ ที่ได้ผสมผสานงานอาชีพด้านแฟชั่นและความรักในช้างเพื่อระดมทุนเพื่อช่วยชีวิตช้างทั่วโลก

ทรีท็อปส์เปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 และเป็นสถานอนุรักษ์ช้างแห่งแรกทางตอนใต้ของจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่บนเนินเขาพื้นที่ตำบลฉลองทางด้านตะวันตกของอ่างเก็บน้ำคลองกระทะ

“เราปิดทำการตั้งแต่ในเดือนมีนาคม และรายได้เพียงอย่างเดียวของเราขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว เราต้องการเงินทุนในการเลี้ยงและดูแลช้างทั้ง 7 เชือกของเราอย่างเร่งด่วน ได้แก่ น้ำแก้ว ฟ้าใส ลำพูน บุญส่อง ทองทิพย์ นำสุข และน้ำเพชร เรามองไปถึงว่าในปี 2564 เราถึงจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางกลับมาเที่ยวภูเก็ต แต่กระนั้นเราก็ไม่แน่ใจเกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมีเข้ามา ดังนั้นเราจึงวางแผนอย่างน้อยหกเดือนถึงหนึ่งปีในการที่จะอยู่ให้ได้” แถลงการณ์ระบุ

ลูอีสกล่าวว่าการให้อาหารช้าง 1 เชือกจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับ 1 วันเกือบ 1 พันบาท ในการซื้อซากต้นสับปะรด กล้วย แตงโม ฟักทอง ผลไม้และผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็มีเงินทุนที่จำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาล และเงินทุนที่จำเป็นในการจัดหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและวิตามินสำหรับช้างนำสุขที่มีอายุถึง 70 ปีอีกด้วย

วันช้างโลก

เป็นที่รับรู้กันทั่วโลกว่าได้มีการเรียกร้องให้สนับสนุน เพื่อช่วยให้ช้างรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการระบาดของโควิดในวันช้างโลกซึ่งตรงกับวันที่ 12 ส.ค.

“ในขณะที่เรายกย่องว่าช้างเป็นสัตว์ที่น่าทึ่งและงดงาม แต่อีกด้านที่น่าเศร้าคือในช่วงการระบาดของโควิดนั้น ช้างและปางช้างหลายแห่งกำลังต่อสู้ดิ้นรน เพื่อหาเงินระดมทุนช่วยเหลือช้างในภูเก็ตและทั่วประเทศไทย ซึ่งมีสถานการณ์ที่ร้ายแรงมากช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข่าวล่าสุดว่านักท่องเที่ยวอาจจะไม่กลับมาเที่ยวจนถึงปี 2564” ลูอิสกล่าว

ทีมงานอธิบายผ่านหน้าเว็บไซต์ว่าทางศูนย์ไม่อนุญาตให้อาบน้ำช้าง เนื่องจากการกระทำนี้ถือเป็นการไม่ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของช้าง และยังทำให้ช้างเกิดความเครียด รวมถึงอันตรายต่อลูกค้า นอกจากนี้ยังถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกสุขอนามัย และผิดจรรยาบรรณอีกด้วย

“เรามีช้างที่งดงาม 7 เชือกอายุตั้งแต่ 10 ถึง 70 ปี ฟ้าใสอายุน้อยที่สุดคือ 10 ปี เคยเป็นช้างที่ใช้ในการแสดงมาก่อน ส่วนช้างที่โตเต็มวัยของเราจะเคยทำงานในอุตสาหกรรมตัดไม้มาก่อน จากนั้นจะถูกขายให้กับการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นั่ง ช้างของเราออกหากินอย่างอิสระ เล่นน้ำในสระน้ำและลำธารของเราอย่างมีอิสระ มีชีวิตใหม่หลังจากทำงานหนักมาหลายสิบปี”

รัสเซล ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารฝ่ายการตลาด กล่าวเสริมว่า “นักท่องเที่ยวเองเป็นผู้กำหนดสิ่งที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หากพวกเขามีความต้องการที่จะดูการแสดงช้าง อยากขี่ช้างเที่ยว หรืออาบน้ำด้วยกันในน้ำ การท่องเที่ยวก็จะจัดเตรียมสิ่งนั้นให้”

“สิ่งสำคัญคือต้องแสดงให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเห็นว่าสัตว์ทุกตัวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพ นี่คือเหตุผลที่เราสร้างศูนย์ช่วยเหลือช้างทรีท็อปส์ Tree Tops Elephant Reserve ขึ้นมาเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์เป็นอันดับแรกสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวช้างของภูเก็ต” เขากล่าวเสริม

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ https://ift.tt/3b9RY1I

ธิชา/ข่าวภูเก็ต: แปล

Let's block ads! (Why?)




August 31, 2020 at 10:45AM
https://ift.tt/3gEelNP

ศิลปินต่างชาติช่วยเหลือช้างในภูเก็ต หลังศูนย์อนุรักษ์ช้างทรีท็อปส์ได้รับผลกระทบโควิด-19 - Khao Phuket

https://ift.tt/2Y7JTEM


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ศิลปินต่างชาติช่วยเหลือช้างในภูเก็ต หลังศูนย์อนุรักษ์ช้างทรีท็อปส์ได้รับผลกระทบโควิด-19 - Khao Phuket"

Post a Comment

Powered by Blogger.